การสมัครสอบ CDT

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ 5 องค์ความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ และโภชนบำบัด (CDT)Certificate of Passing 5 Knowledge in Food, Nutrition and Diet Therapy

สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ตระหนักในความจำเป็นถึงการจัดการสอบรับรอง 5 องค์ความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ และโภชนบำบัด เพื่อสนับสนุนการยกระดับวิทยฐานะของนักกำหนดอาหารไทยให้ทัดเทียมกับวิชาชีพอื่น ๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับสากล จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การสอบ 5 องค์ความรู้ ดังต่อไปนี้


คุณสมบัติของผู้สอบ
1.1 เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
1.2 การศึกษาและประสบการณ์ สำเร็จการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง และมีประสบการณ์ ดังต่อไปนี้


1.2.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
– สาขาอาหารและโภชนาการ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ปี
1.2.2 ปริญญาตรี
1.2.2.1 สาขาอาหารและโภชนาการ และได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) โภชนาการและการกำหนดอาหาร, โภชนวิทยาและ การกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์ และการกำหนดอาหาร, การกำหนดอาหารและโภชน ศาสตร์, การกำหนดอาหารและโภชนบำบัด, โภชนาการและโภชนบำบัด, โภชนบำบัด และการกำหนดอาหาร, อาหารโภชนาการและการกำหนดอาหาร, อาหารและโภชนาการ, โภชนศาสตร์การกำหนดอาหารและอาหารปลอดภัย, โภชนศาสตร์, ชีวเวชศาสตร์ (โภชนบำบัด)
ข. คหกรรมศาสตร์ (คศ.บ.) สาขาคหกรรมศาสตร์, อาหารและโภชนาการ
และมีประสบการณ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 900 ชั่วโมง หรือ
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 250 ชั่วโมง และต้องมี ประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี หรือ
– หากไม่ผ่านการฝึกงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาล ต้องมีประสบการณ์การทำงาน ทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 ปี
1.2.2.2 สาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการด้านอื่น ๆ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 ปี
1.2.2.3 สาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 4 ปี


1.2.3 ปริญญาโท / ปริญญาเอก
1.2.3.1 สาขาอาหารและโภชนาการ และได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งดังต่อไปนี้
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) / วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) โภชนาการ และการกำหนดอาหาร, โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์และการกำหนด อาหาร, การกำหนดอาหารและโภชนศาสตร์, โภชนาการและโภชนบำบัด, โภชนบำบัด และการกำหนดอาหาร, อาหารโภชนาการและการกำหนดอาหาร, อาหารและโภชนาการ, โภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร, โภชนศาสตร์การกำหนดอาหารและ อาหารปลอดภัย, โภชนศาสตร์, ชีวเวชศาสตร์ (โภชนบำบัด)
และมีประสบการณ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 900 ชั่วโมง หรือ
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 250 ชั่วโมง และต้องมี ประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี หรือ
– หากไม่ผ่านการฝึกงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาล ต้องมีประสบการณ์การทำงาน ทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 ปี
1.2.3.2 สาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการด้านอื่น ๆ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 ปี
1.2.3.3 สาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 4 ปี

วิชาและคะแนนที่สอบ สำหรับการรับรอง 5 องค์ความรู้
1 องค์ความรู้ด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) และการ ให้คำปรึกษา (Diet Counseling) ร้อยละ 30
2 องค์ความรู้ด้านโภชนาการพื้นฐาน (Basic Nutrition) ร้อยละ 25
3 องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานโภชนบริการหรือการบริการอาหาร (Food Service Management) ร้อยละ 30
4 องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Sciences) ร้อยละ 10
5 องค์ความรู้ด้านการวิจัย (Nutrition and Dietetics Research) ร้อยละ 5

เกณฑ์การตัดสิน ต้องผ่านการสอบ โดยได้คะแนนร้อยละ 60 ของคะแนนรวมทั้ง 5 องค์ความรู้

วิธีการสอบ
ใช้วิธีสอบข้อเขียนแบบปรนัย (Multiple choices)