AFDA

งานประชุมวิชาการ 8th ACD

เว็บไซต์ https://acd2022.org/en/

คณะตัวแทนสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม the 8th Asian Congress of Dietetics ที่ศูนย์ประชุม Pacifico Yokohama, เมืองโยกาฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น โดยเข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุม และเข้าร่วมฟังบรรยายระหว่างงานประชุมหัวข้อที่น่าสนใจ ระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม 2565

(พิธีเปิดงานโดย Professor Teiji Nakamura, President of Japan Dietetic Association)

ในการนี้ ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลจากทางสมาพันธ์สมาคมนักกำหนดอาหารเอเซีย The Asian Federation of Dietetic Associations (AFDA)  รางวัล “Dr. Chwang Leh-Chii Asian Dietetics Award 2022” รับเลือกเป็นนักกำหนดอาหารที่ได้ทำคุณประโยชน์ในวิชาชีพนักกำหนดอาหารทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ประจำปี 2022

(พิธีมอบรางวัล “Dr. Chwang Leh-Chii Asian Dietetics Award 2022”)

ในช่วงบ่ายมีการประชุม workshop ของนักกำหนดอาหารเอเชียรุ่นใหม่ (Asian Young Dietitian) มีตัวแทนนักกำหนดอาหารเข้าร่วมจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน โดยคณะตัวแทน Young Asian Dietitian จากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ผศ.ยุพา ชาญวิกรัย, อาจารย์วรัญญา เตชะสุขถาวร, เรือโท พงศกรณ์ ล่องฉ้วน, นายยุทธนา พรหมอุ่น และนายสมิทธิ โชติศรีลือชา ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน พูดถึงความแตกต่างของสถานการณ์นักกำหนดอาหารและการทำงานของนักกำหนดอาหารในแต่ละประเทศ รวมถึงนำเสนอความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพนักกำหนดอาหารให้แข็งแกร่ง และได้เป็นมาตรฐานสากล หัวข้อที่สำคัญ ได้แก่

  • Dietetic legal system กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานวิชาชีพ  
  • Obesity สถานการณ์โรคอ้วนและบทบาทของนักกำหนดอาหาร
  • Malnutrition สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการและบทบาทของนักกำหนดอาหาร
(ภาพกิจกรรมงานประชุม Young Asian Dietitian)

ในงานประชุมมีการบรรยายหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย ทั้งโภชนคลินิก โภชนบริการ และโภชนชุมชน ได้แก่

  • สถานการณ์โภชนาการในประเทศญี่ปุ่นและการจัดการ
  • การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ระบบโภชนาการในโรงเรียน
  • การจัดตั้งมาตรฐานการทำงานของนักกำหนดอาหารช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ
  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในงานโภชนาการ
  • มาตรการการลดเค็มลดโซเดียมในอาหาร
  • และการฝึกฝนวิชาชีพนักกำหนดอาหารให้แข็งแกร่ง เป็นต้น
    รวมถึงมีบูธนิทรรศการผลิตภัณฑ์อาหารที่เกี่ยวข้องจัดแสดง
(ภาพประกอบบรรยากาศ)

วันสุดท้ายของงานประชุม ได้ลงนามความร่วมมือกัน ในข้อตกลง “Yokohama Declaration on Dietetics” เพื่อร่วมกันพัฒนางานด้านการกำหนดอาหาร เพื่อส่งเสริมให้ประเทศเอเชียมีสุขภาพดีที่ยั่งยืน ลดการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมการปฏิบัติงานวิชาชีพนักกำหนดอาหารด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์จากการศึกษาและงานวิจัย

ในการนี้ ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมฯ ติดภารกิจ จึงได้มอบหมายให้ อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร เป็นตัวแทนสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว

(ภาพประกอบ)

การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัย Jumonji University
ตัวแทนสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย นำทีมโดย ผศ.ยุพา ชาญวิกรัย, อาจารย์วรัญญา เตชะสุขถาวร
และนายสมิทธิ โชติศรีลือชา ได้เข้าร่วมการทัศนศึกษา เยี่ยมชมดูงาน ของหลักสูตร Asian Dietetics ของ Graduate
School, Jumonji University โดย Prof. Shigeru Yamamoto
Prof. Yamamoto ได้นำเสนอหลักสูตร ความร่วมมือนานาประเทศ อาทิ ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม
เพื่อพัฒนาการศึกษาต่อยอดให้กับนักกำหนดอาหารแห่งเอเชีย และประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาให้แก่นักกำหนดอาหารในประเทศกลุ่มเอเชียด้วย

นอกจากนี้ ได้พานำชมห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหาร (Food Analysis and Functional Food Lab) ซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับตรวจวิเคราะห์สารอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และสารพฤกษเคมีต่างๆ 

ห้องปฏิบัติการโภชนบริการ (Food Service) ใช้เป็นพื้นที่ฝึกภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษา โดยการวางครัวนั้นต้องได้มาตรฐานผ่านการประเมินมาตรฐาน HACCP ห้องปฏิบัติการปรุงประกอบอาหาร (Cooking Lab) สำหรับฝึกทำอาหารทั่วไป

ห้องปฏิบัติการอาหารปลอดภัย (Food safety Lab) สำหรับตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหาร

และห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Product Development Lab) สำหรับให้นักศึกษาฝึกพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีโภชนาการที่ดี หรือตอบโจทย์อาหารผู้ป่วย เช่น เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ  (3D Printer)ในการพิมพ์อาหารฝึกกลืน ชอคโกแลต เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพาเยี่ยมชมบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ห้องสมุด โรงอาหารรวม รถขายอาหารที่พัฒนามาจากนักศึกษาของมหาวิทยาลัย พื้นที่จัดนิทรรศการโมเดลอาหารและคุณค่าทางโภชนาการในโรงอาหารรวม มีความน่าสนใจทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงคุณค่าทางโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารแต่ละเมนู

และกิจกรรมสานสัมพันธ์ Young Asian Dietitian ร่วมรับประทานอาหารและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

กิจกรรมคู่ขนานงานประชุมวิชาการ 8th ACD  – Welcome Cooking Studio-Thinking about the future food education in Asia ณ ABC Cooking Yokohama Landmark Studio

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ,ผศ.ดร.สุนาฎ เตชางาม และ ผศ.ยุพา ชาญวิกรัย จากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมกิจกรรม Thinking about the future food education in Asia จัดโดย Ajinomoto Co., Inc., Faculty of Environment and Information Studies, Keio University และ the Secretary-General of the ASEAN-Japan Center

ซึ่งเป็นกิจกรรมร่วมปรุงประกอบอาหารและเปลี่ยนทางวิชาการ เรียนเชิญตัวแทน จาก 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น ตัวแทนจากสมาคมนักกำหนดอาหาร ตัวแทนจากสถานทูต และตัวแทนนักเรียนจาก ABC Cooking studio เข้าร่วมงาน พร้อมด้วยตัวแทนจากองค์กรต่างๆ Takaaki Nishii ตัวแทนจาก Ajinomoto Co., Inc. Professor Hitoshi Nakazawa ตัวแทนจาก Faculty of Environment and Information Studies, Keio University Ms. Yuka Kubota ตัวแทนจาก the Secretary-General of the ASEAN-Japan Center

โดยมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรม คือ ให้เห็นความสำคัญและความเชื่อมโยงของระหว่าง Taste Nutrition-Cooking Education-Nutrition Education เพื่อวางแผนแก้ปัญหาโภชนาการให้คนมีสุขภาพดีขึ้น ลดอุบัติการณ์โรคอ้วน และการใช้รสชาติอูมามิช่วยลดการบริโภคเกลือ เป็นต้น

(ภาพกิจกรรม)
(ภาพกิจกรรม)
(ภาพกิจกรรม)
(ภาพกิจกรรม)